เมนู

ว่าด้วยทุกข์ทั้ง 3 ดังข้าศึก 3 คน


อีกนัยหนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ชาติ ชรา และมรณะเหล่านี้ ย่อมเที่ยวแสวงหา
โอกาส ดุจปัจจามิตรผู้เข่นฆ่าสัตว์เหล่านี้ คือ เปรียบเหมือนข้าศึก 3 คนของ
บุรุษ ผู้คอยโอกาสเฝ้าดูอยู่ คนหนึ่งพูดว่า ข้าจักกล่าวชมชื่อป่าโน้นแล้ว
จักพาเขาไปในป่านั้น ในเรื่องนี้ไม่มีอะไรที่ทำได้ยากสำหรับเรา. คนที่ 2 พูดว่า
ในเวลาที่เจ้าพาคนนี้ไป เราจักโบยตีการทำให้ทุรพล ในเรื่องนี้ไม่มีอะไรยาก
สำหรับเรา. คนที่ 3 พูดว่า เมื่อเจ้าโบยตีทำบุรุษนี้ให้หมดกำลังแล้ว ชื่อว่า
เอาดาบคมตัดศีรษะ จงเป็นหน้าที่ของเราเถิด ดังนี้. ข้าศึกทั้ง 3 นั้นครั้นพูด
อย่างนั้นแล้ว ก็กระทำอย่างนั้น.
ในการอุปมานั้น ชื่อว่า การคร่าออกจากวงของเพื่อนและญาติแล้ว
ให้เกิดในภพใดภพหนึ่ง ดุจเวลาที่ข้าศึกคนที่หนึ่งกล่าวชมป่าแล้วพาบุรุษนั้นไป
ในป่านั้น พึงทราบว่า เป็นหน้าที่ของชาติ (ความเกิด). การที่ขันธ์ซึ่งเกิดขึ้น
แล้วตกไป (คืออ่อนกำลังลง) แล้ว ทำให้เป็นผู้พึ่งคนอื่นและมีเตียงนอนเป็น
เบื้องหน้า ดุจข้าศึกคนที่ 2 โบยตีทำให้เป็นผู้ทุรพล พึงทราบว่า เป็นหน้าที่
ของชรา. การให้ถึงความสิ้นชีวิต ดุจข้าศึกคนที่ 3 เอาดาบคมตัดศีรษะ
พึงทราบว่า เป็นหน้าที่ของมรณะ ฉะนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในทุกข์ทั้ง 3 นี้ พึงเห็นชาติทุกข์ เหมือนการ
เข้าสู่ทางกันดารใหญ่ที่มีโทษ. พึงเห็นชราทุกข์ เหมือนความเป็นผู้ทุรพลที่
อดข้าวและน้ำในทางกันดารนั้น. พึงเห็นมรณทุกข์ เหมือนการให้ถึงความ
พินาศ ด้วยเครื่องผูกมัดเป็นต้น แก่คนทุรพลผู้มีความพยายามให้อิริยาบถ
เป็นไปถูกขจัดแล้วแล.

ว่าด้วยนิเทศโสกะ

(บาลีข้อ 149)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศโสกะ ต่อไป
สภาวะใด ย่อมถึงความพราก อธิบายว่า ย่อมชัดไป คือย่อมกำจัด
ประโยชน์เกื้อกูลและความสุข เพราะเหตุนั้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า พยสนะ
(ความเสื่อม) ความเสื่อมญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะ อธิบายว่า ความสิ้น
ญาติคือความพินาศแห่งญาติ ด้วยภัยแต่โจรและโรคเป็นต้น คือด้วยความเสื่อม
แห่งญาตินั้น.
บทว่า ผุฏฺฐสฺส (ของผู้ที่ถูกกระทบ) ได้แก่ ของบุคคลผู้อันความ
เสื่อมท่วมทับแล้ว ครอบงำแล้ว คือประกอบพร้อมแล้ว. แม้ในคำที่เหลือก็
นัยนี้แหละ.
แต่ความแปลกกันมี ดังนี้.
ความเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย ชื่อว่า โภคพยสนะ อธิบายว่า
ความสิ้นโภคะ ความพินาศแห่งโภคะ ด้วยอำนาจแห่งภัยมีราชภัยและโจรภัย
เป็นต้น. ความเสื่อมคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ จริงอยู่ โรคย่อมยังความ
ไม่มีโรคให้พราก คือย่อมให้พินาศไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พยสนะ.
ความพินาศแห่งศีล ชื่อว่า สีลพยสนะ (ความเสื่อมศีล) คำว่า สีลพยสนะ
นี้เป็นชื่อของความเป็นผู้ทุศีล. ความเสื่อมคือทิฏฐิซึ่งยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศ
เกิดขึ้น ชื่อว่า ทิฏฐิพยสนะ* (ความเสื่อมทิฏฐิ). อนึ่ง บรรดาความเสื่อม
5 เหล่านี้ ความเสื่อม 2 เบื้องต้น (คือความเสื่อมญาติ และความเสื่อม
โภคทรัพย์), เป็นของยังไม่เกิดขึ้น แต่ความเสื่อมหลัง 3 (คือความเสื่อมด้วย
โรค ความเสื่อมศีล ความเสื่อมทิฏฐิ) เป็นของเกิดขึ้นแล้ว คือถูกไตรลักษณ์
* หมายถึงความเสื่อมจากสัมมาทิฏฐิ